ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สอบ ก.พ. ภาค ก ปี 2557




สำหรับเพื่อน ๆ ผู้ที่ใฝ่ฝันอยากทำงานข้าราชการ คงใจจดใจจ่อเฝ้ารอการเปิดรับสมัครสอบเข้ารับราชการจากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเรียกได้ว่ามีทั้งเวทีเล็ก และเวทีใหญ่ แต่หนึ่งในสนามสอบที่ผมเชื่อว่าข้าราชการในอนาคตทุกท่านรู้จัก และจะต้องเข้ารับการทดสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณสมบัติในการสอบเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนในแต่ละสาขาวิชาชีพ ก็คือการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป หรือที่หลาย ๆ คนเรียกกันติดปากว่า สอบ ก.พ. ภาค ก





โดยใน ปี 2557 นี้ เรียกได้ว่าการสอบ ก.พ. ภาค ก สร้างความแปลกใจให้กับหลาย ๆ คนที่เตรียมพร้อมในการสอบเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะมีการปรับเพิ่มข้อสอบภาษาอังกฤษในการทดสอบความรู้แล้ว ปี 2557 นี้ ยังถือได้ว่าการสอบ ก.พ. ภาค ก มาไวกว่าทุก ๆ ปี คือเริ่มเปิดรับสมัครกันในเดือนมีนาคม 2557 และจัดให้มีการสอบในเดือนมิถุนายน 2557 (หากไม่มีปัจจัยใด ๆ มาทำให้ต้องเลื่อน) แต่ยังโชคดีที่ทาง ก.พ. ได้มีการประกาศให้รู้กันตั้งแต่เนิ่น ๆ ผู้ที่จะเข้ารับการทดสอบในปีนี้ จะได้เตรียมตัวทัน



ตามที่ทราบ ๆ กันว่าการสอบ ก.พ. ภาค ก ประจำปี 2557 นี้จะมีการปรับเปลี่ยนวิชาที่ใช้ในการสอบ และสัดส่วนการพิจารณาคะแนนในการสอบด้วย ดังนี้

 
- วิชาความสามารถทั่วไป (คณิตศาสตร์) และวิชาภาษาไทย คะแนนเต็ม 150 คะแนน ***ผู้สอบผ่านจะต้องได้คะแนนรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 (ไม่ตำกว่า 90 คะแนน จาก 150 คะแนน) แต่...เฉพาะระดับปริญญาโท ต้องได้คะแนนรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65

- วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 50 คะแนน ผู้สอบผ่านต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ( 25 คะแนนเท่านั้น) แต่วิชาดังกล่าวสามารถนำคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษอื่น ๆ ได้แก่ TOEFL TOEIC CU-TEP และ TU-GET ซึ่งได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 มาใช้ยื่นแทนได้ครับ

สำหรับผู้ที่ต้องการสมัคร หรือ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถ >>> คลิ๊กที่นี่ <<< ได้เลยครับ

และหากเพื่อน ๆ มองหา ติวเตอร์ สำหรับติวความพร้อมก่อน สอบก.พ. ภาค ก สามารถติดต่อ BEARY Tutor Team ได้ที่ 085 - 934 - 1130 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ >>> BEARY Tutor ติวสอบ ก.พ. ภาค ก ปี 57 <<< ได้เลยครับ


 































ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เคล็ดลับสอบ ก.พ. ภาค ก : การทำข้อสอบอนุกรม

การ สอบ ก.พ. ภาค ก ในปัจจุบัน ได้แบ่งออกเป็น การสอบการคิดวิเคราะห์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แม้ว่ารูปแบบข้อสอบจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่และเป็นข้อสอบที่หลายๆ คน มองว่าเป็นเรื่องที่ยาก นั่นคือ "อนุกรม" อนุกรม หมายถึง ชุดของตัวเลขที่เรียงลำดับกันอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็นเพิ่มขึ้น (การบวกและคูณ) และลดลง (การลบและหาร) ซึ่งความยากของการทำข้อสอบอนุกรมก็คือการค้นหาระบบที่ทางผู้ออกข้อสอบต้องการนั่นเอง โดยเคล็ดลับและวิธีการทำข้อสอบอนุกรมสามารถพิจารณาได้จากวิธีการดังต่อไปนี้ 1. อนุกรมลำดับชั้น วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขโดยการตีแฉก แล้วคำนวณดูว่าตัวเลขแต่ละลำดับนั้นห่างกันเท่าไหร่ และห่างกันอย่างไร ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 1     ภาพที่ 1 2. อนุกรมสะสม วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขในแต่ละชุด อาจกำหนดเป็นชุดละ 2 หรือ 3 ลำดับ แล้วพิจารณาดูว่าผลจากการคำนวณนั้นตรงกับลำดับถัดไปหรือไม่? หากใช่ ให้ลองทำกับลำดับต่อๆ ไป จนได้คำตอบในลำดับสุดท้าย ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 2 ภาพที่ 2   นอกจาก อนุกรม ทั้งสอง

วิธีสร้างรหัสแบบสอบถาม ก่อนเข้าสู่การใช้งาน SPSS

แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือการวิจัยที่ได้รับความนิยมจากนักวิจัย และนักเรียน นักศึกษา ในระดับต่างๆ เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครบถ้วนแล้ว กระบวนการถัดมาคือการ  คีย์ข้อมูล  ลงโปรแกรม SPSS แต่ด้วยจำนวนแบบสอบถามที่มีเป็นจำนวนมาก โดยแต่ละชุดก็มีข้อคำถามที่หลากหลาย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความผิดพลาด จึงควรมีการ  สร้างรหัสแบบสอบถาม เพื่อให้การ  ลงข้อมูล หรือ คีย์แบบสอบถาม เป็นไปอย่างถูกต้อง โดย BEARY Tutor มีข้อแนะนำดังนี้ 1. เขียนรหัสแบบสอบถามเพื่อเรียงลำดับชุด ในการทำวิจัยแต่ละครั้ง มักใช้  แบบสอบถาม  เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในแต่ละชุดยังประกอบไปด้วยจำนวนข้อคำถามมีหลายข้อ การเขียนรหัสแบบสอบถาม ลงบนหัวกระดาษ ซึ่งปกติจะเขียนบริเวณมุมบนขวา โดยใช้ตัวเลข 3 หลัก (ตามจำนวนชุดของแบบสอบถามทั้งหมด) เรียงตามลำดับการ ลงรหัสแบบสอบถาม ( คีย์ข้อมูลแบบสอบถาม ) เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างการคีย์ รวมไปถึงการแก้ไขข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่มีการคีย์ผิดพลาด 2. สร้างรหัสตัวแปร  การลงรหัสแบบสอบถาม จำเป็นต้องสร้างรหัสของข้อมูล ซึ่งก็คือตัวแปรต่างๆ เพื่อให

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ทฤษฎีคลาสสิคที่ใช้ในงานวิจัย

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) ภาพ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ในการจัดทำงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยทางการตลาด การทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านการตลาด หรือพฤติกรรมผู้บริโภค จะต้องมีการศึกษาทฤษฎีหนึ่งซึ่งเป็นทฤษฎีอมตะที่บ่งบอกถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย นั่นคือ " ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) "  Abraham H. Maslow (1954 อ้างถึงในวิบูลย์ จุง, 2550) อธิบายว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคลในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง โดยลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation) สามารถเรียงไว้อย่างเป็นลำดับ ได้ดังนี้ 1. ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs ) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดท