* ภาพจาก www.mthai.com
รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ คืนความสุขให้ข้าราชการไทย หลังสำนักงาน กพ.
ชงเสนอแนวทางการปรับเงินเดือนให้แก่ข้าราชการชั้นผู้น้อยแล้ว
ทั้งแบบกำหนดวงเงิน-ขั้น ประเดิมปี 58 ทุ่ม 1.6 หมื่นล้านบาท
ยกระดับคุณภาพ "ขรก.-จนท.ชั้นผู้น้อย"
โดยในขณะนี้สำนักงาน ก.พ. ได้มีการเสนอแนวทางการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ
โดยการเพิ่มเงินค่าครองชีพชั่วคราวและการปรับบัญชีเงินเดือน
เพื่อยกระดับรายได้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย
โดยมีแนวทางการดำเนินการดังนี้
1. ปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐชั้นผู้น้อย (มีเงินเดือนไม่เกิน 12,285 บาท)
จะได้รับการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากอัตราเดือนละ 1,500 บาท เป็น 2,000 บาท
และผู้ใดที่ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวแล้วมีรายได้ไม่ถึง 10,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้น
เพื่อให้มีรายได้รวมขั้นต่ำเท่ากับ 10,000 บาท
และมีเงื่อนไขว่าผู้ที่จะได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวจะต้องเป็นผู้ที่มีรายได้รวมไม่เกิน
13,285 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2557
ซึ่งจะมีผลให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยซึ่งเคยได้รับเงินเพิ่มการครองชีพ
ชั่วคราวมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 500 -1,000 บาท
การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวตามแนวทางนี้
จะครอบคลุมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐชั้นผู้น้อยจำนวน ประมาณ 380,000 คน
2. ปรับบัญชีเงินเดือน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐชั้นผู้น้อย
(ผู้ดำรงตำแหน่งที่ไมได้รับเงินประจำตำแหน่ง ) ระดับตำแหน่งไม่เกินระดับชำนาญการ
หรือระดับ 7 หรือ ชั้นยศพันโทหรือเทียบเท่า)
จะได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น 1 ขั้น (ระบบเงินเดือนแบบขั้น)
หรือร้อยละ 4 (ระบบเงินเดือนแบบช่วง)
และจะปรับเพิ่มเพดานเงินเดือนชั้นสูงของทุกระดับ /อีกประมาณ ไม่เกิน 3 ขั้นหรือร้อยละ 10
เพื่อให้ผู้ที่มีเงินเดือนตันได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นด้วย
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 การปรับเงินเดือนตามแนวทางนี้ จะครอบคลุมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐประมาณ
1.98 ล้านคน
3. งบประมาณ
ประมาณการค่าใช้จ่ายภายใต้กรอบงบประมาณในหมวดงบกลางที่สามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณ
2558 ตามข้อเสนอของสำนักงบประมาณ 16,800 ล้านบาท
สำหรับงบประมาณในปีถัดไปจะจัดสรรเป็นงบบุคลากรของแต่ละส่วนราชการต่อไป
ซึ่งส่วนราชการจะใช้เงินเหลือจ่ายของแต่ละส่วนรายการที่เหลือจากตำแหน่งว่างเนื่องจากการลาออกหรือเกษียณอายุก่อน
จึงไม่เป็นการสร้างภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้น
โดยการปรับเงินเดือนของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าว
นับได้ว่ามีความเหมาะสม คล่องตัวเกิดประโยชน์ต่อข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐชั้นผู้น้อยที่จะได้รับเงินโดยเร็ว
เพื่อการใช้จ่ายเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและไม่เกิดภาระแก่ส่วนราชการในการดำเนินการสั่งจ่ายเงินหลายขั้นตอนในช่วงเวลาเดียวกัน
ข้อมูลข่าวจาก http://www.isranews.org
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น