ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2015

จองก่อนเต็ม!!! ติวสอบโค้งสุดท้ายการไฟฟ้านครหลวง 2558

ภาพจาก  เว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงาน จำนวน 39 คุณวุฒิ รวมกว่า 400 อัตรา ประกอบไปด้วยคุณวุฒิตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น - ปริญญาโท ซึ่งในปี 2558 นี้ พบว่ามีผู้สนใจสมัครรวมทั้งสิ้นกว่า 20,000 คน หรือคิดเป็นอัตราส่วนการแข่งขัน 1 : 50 โดย การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้มีการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบในแต่ละตำแหน่ง เลขประจำตัวสอบ วัน เวลา และสถานที่สอบ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้เลยที่นี่ >>>ประกาศการไฟฟ้านครหลวง เรื่อง ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ เลขประจำตัวสอบ และห้องสอบ<<< ภาพจาก Facebook การไฟฟ้านครหลวง (MEA) นับจากวันนี้เป็นต้นไป เหลือเวลาอีกไม่กี่วันแล้วสำหรับการเข้าสู่สนามสอบเพื่อเข้ารับการคัดเลือกมาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ที่นับได้ว่าเป็นรัฐวิสาหกิจอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ที่มีผู้อยากเข้าร่วมงานด้วยเป็นจำนวนมาก หากใครยังไม่มีความพร้อม หรืออยากเพิ่มความมั่นใจในวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป เพื่อสอบเข้า การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ให้พวกเรา Beary tutor เป็นผู้ช่วยสิครับ ...

การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ

เมื่อพูดถึงการ วิจัย ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบอย่างไร แต่การเรียนในระดับอุดมศึกษาปัจจุบัน ก็มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้มีการทำวิจัยในประเด็นต่าง ๆ เพื่อแสวงหาความรู้ และส่งเสริมให้เกิดการคิดอย่างเป็นระบบ ในรูปแบบการทำ ปริญญานิพนธ์ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรือแม้กระทั่ง ดุษฎีนิพนธ์   ความหมายของการวิจัย กล่าวโดยสรุปคือ การวิจัย เป็นการค้นหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ซึ่งนักวิชาการได้มีการแบ่งประเภทของการวิจัยออกเป็นหลายลักษณะ แต่ลักษณะการแบ่งที่เป็นที่รู้จักก็คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) และ การวิจัยเชิงคุณภาพ ( qualitative research) การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) หมายถึง การมุ่งหาข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปในเชิงปริมาณ เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้อง ในผลการศึกษาที่ได้ค้นพบ จากการใช้เครื่องมือการวิจัย ซึ่งมีลักษณะเป็นปรนัยในการเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์  การทดลอง เป็นต้น การวิจัยเชิงคุณภาพ ( qualitative research) หมา...

ความสำคัญของมาตรวัดกับงานวิจัย

งาน  วิจัย   ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยจากองค์กรต่าง ๆ หรือการทำ  ปริญญานิพนธ์ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรือ ดุษฎีนิพนธ์ มักนิยมการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ในการสำรวจ ศึกษา เนื่องจากผลการวิจัยที่ได้ในเชิงปริมาณนั้น เป็นตัวเลขที่สามารถนำมาแสดงให้เห็นในเชิงสถิติได้อย่างชัดเจน แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผู้วิจัยจะต้องให้ความสำคัญในการทำวิจัยเชิงปริมาณก็คือ "มาตรวัด" (meansurement scale) ที่จะทำให้การทำงานวิจัย ปริญญานิพนธ์ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรือ ดุษฎีนิพนธ์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถจำแนกมาตรวัดออกได้เป็น 4 มาตร ได้แก่ มาตรานามบัญญัติ (norminal scale) เป็นการกำหนดสัญลักษณ์เพื่อจำแนกประเภทหรือคุณสมบัติเท่านั้น โดยไม่สามารถแสดงให้เห็นในเชิงปริมาณได้ เช่น การจัดกลุ่มของเพศ ได้แก่ เพศชาย เพศหญิง หรือเพศทางเลือก หรือ สถานภาพ ได้แก่ โสด สมรส หรือหย่า/หม้าย เป็นต้น มาตราอันดับ (ordinal scale)   เป็นการจัดอันดับของข้อมูลที่สามารถแสดงให้เห็นได้ถึงลำดับและความแตกต่าง แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ามีช่วงความห่างมากน้อยเพียงใด เช่น ตัวแปรของลักษณะงานที่อยากทำ อันด...