ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สตช. เตรียมเปิดสอบตำรวจชั้นประทวน ปี 60 จำนวน 183 อัตรา


ในภาพอาจจะมี 2 คน, ข้อความ

ภาพจาก กองการสอบ

กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกาศรับสมัครและสอบแข่งขันบุคคลภายนอกผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน พ.ศ. 2560 (สายงานปฏิบัติการป้องกันปราบปราม ทำหน้าที่งานดับเพลิง) จำนวน 183 อัตรา

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

คุณสมบัติผู้สมัคร
1. เพศชาย
2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 27 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันปิดรับสมัคร (18 ส.ค. 2560)
3. ส่วนสูงไม่น้อยกว่า 160 ซม. รอบอกไม่น้อยกว่า 77 ซม.
4. จบการศึกษาในระดับ ปวช. หรือเทียบเท่า (ไม่รับวุฒิ ม.6) โดยจะต้องสำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรจากสถานศึกษานั้น ๆ ภายในวันปิดรับสมัคร (18 ส.ค. 2560)

วิธีการรับสมัคร
รับสมัครทางอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ www.policeadmission.org ระหว่างวันที่ 27 ก.ค. - 18 ส.ค. 2560

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป

วิชาที่ใช้สอบ แบ่งออกเป็น
1. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (50 คะแนน)
1.1 ความสามารถทั่วไป (คณิตศาสตร์และการคิดวิเคราะห์) จำนวน 25 ข้อ
1.2 ภาษาไทย                                                                      จำนวน 25 ข้อ

2. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (100 คะแนน)
2.1 ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)                                  จำนวน 25 ข้อ
2.2 ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ             จำนวน 25 ข้อ
2.3 กฎหมายที่ประชาชนควรรู้                                               จำนวน 25 ข้อ
2.4 สังคม วัฒนธรรมและจริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน จำนวน 25 ข้อ

3. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง
3.1 ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย
- วิ่ง-ว่ายน้ำ
- ยืนกระโดดไกล วิ่งเก็บของและวิ่งระยะสั้น
3.2 การตรวจร่างกายและการทดสอบสุขภาพจิต
3.3 สอบสัมภาษณ์
3.4 การตรวจคุณสมบัติ ประวัติและความประพฤติ

ผู้ที่ถือว่าเป็นผู้สอบแข่งขันได้ จะต้องเป็นผู้ที่ สอบได้คะแนนแต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของแต่ละภาค

กำหนดการในรับสมัครสอบสอบตำรวจ
– ออกประกาศรับสมัครทาง 20 – 26 ก.ค.60
– รับสมัครทางอินเทอร์เน็ต 27 ก.ค. – 18 ส.ค.60
– ประกาศรายชื่อผู้สมัครให้เข้าสอบข้อเขียน 14 – 24 ก.ย.60
– สอบข้อเขียน วันอาทิตย์ที่ 24 ก.ย.60
– ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียน 29 ก.ย.60
– ทดสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง และตรวจร่างกาย 7 – 18 ต.ค.60
– ประกาศผลการตรวจร่างกาย (เฉพาะผู้ไม่ผ่าน) 20 ต.ค.60
– ประกาศรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้/ผู้สอบแข่งขันได้สำรอง 24 พ.ย.60
– ผู้สอบแข่งขันได้ ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน 1 ธ.ค.60



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีสร้างรหัสแบบสอบถาม ก่อนเข้าสู่การใช้งาน SPSS

แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือการวิจัยที่ได้รับความนิยมจากนักวิจัย และนักเรียน นักศึกษา ในระดับต่างๆ เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครบถ้วนแล้ว กระบวนการถัดมาคือการ  คีย์ข้อมูล  ลงโปรแกรม SPSS แต่ด้วยจำนวนแบบสอบถามที่มีเป็นจำนวนมาก โดยแต่ละชุดก็มีข้อคำถามที่หลากหลาย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความผิดพลาด จึงควรมีการ  สร้างรหัสแบบสอบถาม เพื่อให้การ  ลงข้อมูล หรือ คีย์แบบสอบถาม เป็นไปอย่างถูกต้อง โดย BEARY Tutor มีข้อแนะนำดังนี้ 1. เขียนรหัสแบบสอบถามเพื่อเรียงลำดับชุด ในการทำวิจัยแต่ละครั้ง มักใช้  แบบสอบถาม  เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในแต่ละชุดยังประกอบไปด้วยจำนวนข้อคำถามมีหลายข้อ การเขียนรหัสแบบสอบถาม ลงบนหัวกระดาษ ซึ่งปกติจะเขียนบริเวณมุมบนขวา โดยใช้ตัวเลข 3 หลัก (ตามจำนวนชุดของแบบสอบถามทั้งหมด) เรียงตามลำดับการ ลงรหัสแบบสอบถาม ( คีย์ข้อมูลแบบสอบถาม ) เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างการคีย์ รวมไปถึงการแก้ไขข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่มีการคีย์ผิดพลาด 2. สร้างรหัสตัวแปร  การลงรหัสแบบสอบถาม จำเป็นต้องสร้างรหัสของข...

เคล็ดลับสอบ ก.พ. ภาค ก : การทำข้อสอบอนุกรม

การ สอบ ก.พ. ภาค ก ในปัจจุบัน ได้แบ่งออกเป็น การสอบการคิดวิเคราะห์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แม้ว่ารูปแบบข้อสอบจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่และเป็นข้อสอบที่หลายๆ คน มองว่าเป็นเรื่องที่ยาก นั่นคือ "อนุกรม" อนุกรม หมายถึง ชุดของตัวเลขที่เรียงลำดับกันอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็นเพิ่มขึ้น (การบวกและคูณ) และลดลง (การลบและหาร) ซึ่งความยากของการทำข้อสอบอนุกรมก็คือการค้นหาระบบที่ทางผู้ออกข้อสอบต้องการนั่นเอง โดยเคล็ดลับและวิธีการทำข้อสอบอนุกรมสามารถพิจารณาได้จากวิธีการดังต่อไปนี้ 1. อนุกรมลำดับชั้น วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขโดยการตีแฉก แล้วคำนวณดูว่าตัวเลขแต่ละลำดับนั้นห่างกันเท่าไหร่ และห่างกันอย่างไร ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 1     ภาพที่ 1 2. อนุกรมสะสม วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขในแต่ละชุด อาจกำหนดเป็นชุดละ 2 หรือ 3 ลำดับ แล้วพิจารณาดูว่าผลจากการคำนวณนั้นตรงกับลำดับถัดไปหรือไม่? หากใช่ ให้ลองทำกับลำดับต่อๆ ไป จนได้คำตอบในลำดับสุดท้าย ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 2 ภาพที่ 2   นอก...

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ทฤษฎีคลาสสิคที่ใช้ในงานวิจัย

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) ภาพ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ในการจัดทำงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยทางการตลาด การทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านการตลาด หรือพฤติกรรมผู้บริโภค จะต้องมีการศึกษาทฤษฎีหนึ่งซึ่งเป็นทฤษฎีอมตะที่บ่งบอกถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย นั่นคือ " ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) "  Abraham H. Maslow (1954 อ้างถึงในวิบูลย์ จุง, 2550) อธิบายว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคลในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง โดยลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation) สามารถเรียงไว้อย่างเป็นลำดับ ได้ดังนี้ 1. ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs ) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดท...