ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

10 เหตุผล ที่ควรเรียนต่อปริญญาโท


หลายคนที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้ว หรือทำงานไปได้สักพัก แล้วเกิดความสับสนว่าตัวเองควรเรียนต่อในระดับปริญญาโทหรือไม่? วันนี้ #แบรี่ติวเตอร์ ได้รวบรวม 10 เหตุผล ที่ควรเรียนต่อปริญญาโท มาให้อ่านกัน ดังนี้

1. สามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น ข้อดีของการเรียนปริญญาโทที่เห็นได้ชัดเจนก็คืออัตราเงินเดือนในการสมัครงานที่สูงกว่าผู้ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยความรู้ที่มากกว่า ประสบการณ์ที่มากกว่า และเครือข่ายความสัมพันธ์ที่มากกว่า การจบการศึกษาในระดับปริญญาโทสามารถช่วยให้มีช่องทางในการหารายได้ที่เพิ่มมากขึ้น เช่น การเป็นอาจารย์พิเศษ การเป็นที่ปรึกษา เป็นต้น



2. สร้างเครือข่าย การเรียนในระดับปริญญาตรี มักจะเป็นคนในวัยเดียวกัน มีประสบการณ์และองค์ความรู้คล้าย ๆ กัน ในขณะที่การเรียนในระดับปริญญาโทนั้น ส่วนใหญ่มักเต็มไปด้วยความหลากหลาย ทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ หน้าที่ การงาน ความรับผิดชอบ ดังนั้น การเรียนในระดับปริญญาโทจึงเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ เพื่อการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในอนาคต และไม่แน่ว่าคุณอาจจะเจอเนื้อคู่กันในห้องเรียนก็เป็นได้

3. ได้วุฒิการศึกษา แม้ใครต่อใครจะมองว่าการเรียนในระดับปริญญาโท สุดท้ายก็ได้มาแค่กระดาาแผ่นเดียวคือใบปริญญา แต่อย่าลืมว่าในสังคมยังคงให้ความสำคัญกับกระดาษที่เรียกว่า "ปริญญาบัตร" อยู่ ยิ่งคุณได้รับการศึกษาที่ดี มีปริญญาบัตรรับรอง คุณยิ่งมีโอกาสได้งานทำที่ดี มีโอกาสดี ๆ ต่าง ๆ เข้ามาในชีวิต เช่น การได้รับทุนการศึกษาต่อ การทำงานพิเศษ การเป็นที่ปรึกษา และการต่อยอดโอกาสดี ๆ ในชีวิตอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น


4. ได้ร่วมงานกับคนเก่ง ๆ การเรียนการสอนในระดับปริญญาโทนั้น เราจะได้เจอกับคนเก่ง ๆ ที่ไม่ใช่แค่อาจารย์ประจำภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น หากแต่ยังมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ จากภายนอกมาทำหน้าที่บรรยายให้ความรู้ ทั้งในรูปแบบการเป็นอาจารย์พิเศษ การบรรยายในโอกาสต่าง ๆ การร่วมทำ workshop นอกจากนี้ยังได้ร่วมศึกษากับเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่ต่างก็มีความรู้และประสบการณ์เฉพาะตัว จึงทำให้เราได้มีโอกาสรู้จักและร่วมงานกับคนเก่ง ๆ มากมายในห้องเรียนห้องเดียว

5. ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน ท่ามกลางผู้คนมากมายที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี อาจไม่ตอบสนองต่อความต้องการพนักงานของตลาดแรงงานในปัจจุบัน การศึกษาในระดับปริญญาโท จะช่วยให้เราสามารถมีทักษะที่ตอบสนองต่อตลาดแรงงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่จบการศึกษาในสายงานเดียวกัน ระดับเดียวกัน

advice, advise, advisor

6. ยกระดับคุณสมบัติของตนเอง การจบการศึกษาในระดับปริญญาโท แสดงให้เห็นถึงการมีคุณวุฒิทางการศึกษาที่สูงกว่าระดับปริญญาตรีอย่างแน่นอน ไม่เพียงเท่านั้น กระบวนการศึกษาในระดับปริญญาโทที่มุ่งเน้นการสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง การคิดวิเคราะห์ หรือแม้กระทั่งการวิจัย วิทยานิพนธ์ ยังช่วยเพิ่มระดับความรู้ ความสามารถของคุณ ในมีคุณสมบัติที่เหนือว่าผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้วยเช่นกัน

7. เป็นการลงทุนเพื่ออนาคต ไม่มีใครหยั่งรู้อนาคตได้ว่าจะได้ทำงานแบบไหน การเรียนในระดับปริญญาโทจะช่วยให้เรามองหางานในอนาคตได้ชัดเจนขึ้น จากกระบวนการเรียนการสอน ที่เน้นทั้งเชิงวิชาการ และการปฏิบัติจริง มันจึงเป็นการลงทุนพัฒนาศักยภาพของตนเอง ไม่ใช่แค่ในระหว่างเรียน หากแต่ยังเป็นหน้าที่การงานภายหลังจากจบการศึกษาอีกด้วย

Business teamwork success concept. Free Photo

8. ค้นพบความสนใจที่แท้จริงของตนเอง การศึกษาในระดับปริญญาโท จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองทั้งต่อหน้าผู้สอนและเพื่อน ๆ ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง และการทำวิจัย ซึ่งกระบวนการทั้งหมด จะช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาความต้องการที่แท้จริงของตนเองได้

9. สร้างการยอมรับในสังคม ปฏิเสธไม่ได้ว่าเวลาที่คุณบอกใครต่อใครว่าจบการศึกษาในระดับปริญญาโทแล้ว จะช่วยให้คุณดูดีและมีความน่าเชื่อถือมากกว่าคนที่จบการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีผลงานทางวิชาการในระหว่างเรียนที่โดดเด่น เช่น ได้รับการเชิญให้ไปนำเสนอผลงานในเวทีระดับนานาชาติ หรือมีการนำผลงานที่เรียนมาใช้ประโยชน์ในทางสังคมแล้ว ก็จะช่วยให้คุณเป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงในสังคมมากยิ่งขึ้น

Person drawing symbols coming out of a light bulb on top of a book Free Photo

10. ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้แก่โลก จากกระบวนการศึกษาในระดับปริญญาโทที่มุ่งเน้นการศึกษาความรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนมีการทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาทางด้าน STEM ( Science + Technology + Engineering + Mathematics) ย่อมเป็นปัจจัยที่สำคัญในการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ที่เป็นประโยชน์แก่โลกใบนี้ได้ 

เห็นไหมละครับ ว่าการเรียนต่อในระดับปริญญาโท ให้อะไรได้มากกว่าที่เราคิด หวังว่าอ่านบทความนี้จบแล้ว จะช่วยให้คุณตัดสินใจในการเรียนต่อในระดับปริญญาโทได้ง่ายขึ้นนะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีสร้างรหัสแบบสอบถาม ก่อนเข้าสู่การใช้งาน SPSS

แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือการวิจัยที่ได้รับความนิยมจากนักวิจัย และนักเรียน นักศึกษา ในระดับต่างๆ เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครบถ้วนแล้ว กระบวนการถัดมาคือการ  คีย์ข้อมูล  ลงโปรแกรม SPSS แต่ด้วยจำนวนแบบสอบถามที่มีเป็นจำนวนมาก โดยแต่ละชุดก็มีข้อคำถามที่หลากหลาย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความผิดพลาด จึงควรมีการ  สร้างรหัสแบบสอบถาม เพื่อให้การ  ลงข้อมูล หรือ คีย์แบบสอบถาม เป็นไปอย่างถูกต้อง โดย BEARY Tutor มีข้อแนะนำดังนี้ 1. เขียนรหัสแบบสอบถามเพื่อเรียงลำดับชุด ในการทำวิจัยแต่ละครั้ง มักใช้  แบบสอบถาม  เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในแต่ละชุดยังประกอบไปด้วยจำนวนข้อคำถามมีหลายข้อ การเขียนรหัสแบบสอบถาม ลงบนหัวกระดาษ ซึ่งปกติจะเขียนบริเวณมุมบนขวา โดยใช้ตัวเลข 3 หลัก (ตามจำนวนชุดของแบบสอบถามทั้งหมด) เรียงตามลำดับการ ลงรหัสแบบสอบถาม ( คีย์ข้อมูลแบบสอบถาม ) เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างการคีย์ รวมไปถึงการแก้ไขข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่มีการคีย์ผิดพลาด 2. สร้างรหัสตัวแปร  การลงรหัสแบบสอบถาม จำเป็นต้องสร้างรหัสของข...

เคล็ดลับสอบ ก.พ. ภาค ก : การทำข้อสอบอนุกรม

การ สอบ ก.พ. ภาค ก ในปัจจุบัน ได้แบ่งออกเป็น การสอบการคิดวิเคราะห์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แม้ว่ารูปแบบข้อสอบจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่และเป็นข้อสอบที่หลายๆ คน มองว่าเป็นเรื่องที่ยาก นั่นคือ "อนุกรม" อนุกรม หมายถึง ชุดของตัวเลขที่เรียงลำดับกันอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็นเพิ่มขึ้น (การบวกและคูณ) และลดลง (การลบและหาร) ซึ่งความยากของการทำข้อสอบอนุกรมก็คือการค้นหาระบบที่ทางผู้ออกข้อสอบต้องการนั่นเอง โดยเคล็ดลับและวิธีการทำข้อสอบอนุกรมสามารถพิจารณาได้จากวิธีการดังต่อไปนี้ 1. อนุกรมลำดับชั้น วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขโดยการตีแฉก แล้วคำนวณดูว่าตัวเลขแต่ละลำดับนั้นห่างกันเท่าไหร่ และห่างกันอย่างไร ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 1     ภาพที่ 1 2. อนุกรมสะสม วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขในแต่ละชุด อาจกำหนดเป็นชุดละ 2 หรือ 3 ลำดับ แล้วพิจารณาดูว่าผลจากการคำนวณนั้นตรงกับลำดับถัดไปหรือไม่? หากใช่ ให้ลองทำกับลำดับต่อๆ ไป จนได้คำตอบในลำดับสุดท้าย ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 2 ภาพที่ 2   นอก...

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ทฤษฎีคลาสสิคที่ใช้ในงานวิจัย

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) ภาพ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ในการจัดทำงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยทางการตลาด การทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านการตลาด หรือพฤติกรรมผู้บริโภค จะต้องมีการศึกษาทฤษฎีหนึ่งซึ่งเป็นทฤษฎีอมตะที่บ่งบอกถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย นั่นคือ " ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) "  Abraham H. Maslow (1954 อ้างถึงในวิบูลย์ จุง, 2550) อธิบายว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคลในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง โดยลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation) สามารถเรียงไว้อย่างเป็นลำดับ ได้ดังนี้ 1. ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs ) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดท...