ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เคล็ดลับสอบทำข้อสอบ ก.พ. ภาค ก อุปมา อุปไมย






การ สอบ ก.พ. ภาค ก. นั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าจะแบ่งการสอบออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ พูดง่าย ๆ คือกลุ่มคณิตศาสตร์ และกลุ่มภาษาไทย เคล็ดลับหนึ่งที่หลาย ๆ คนเลือกนำมาใช้ในการสอบก็คือการเลือกทำข้อสอบที่ตนเองถนัดก่อน และส่วนใหญ่มักเลือกทำ "ภาษาไทย"

ภาษาไทย ใคร ๆ ก็รู้ว่าเป็นภาษาประจำชาติ พูดกันมาตั้งแต่เกิด แต่พอเจอโจทย์ในข้อสอบ ก.พ. หลายคนอาจจะ อึ้ง ทึ่ง งง อ่านตัวเลือกไหน ๆ ก็ดูจะถูกไปเสียหมด หรืออาจจะดูไม่เกี่ยวข้องกันเสียเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อสอบในกลุ่ม "อุปมา อุปไมย" ที่มักจะมีมาให้เรางงประมาณ 5 - 10 ข้อ

ข้อสอบอุปมา อุปไมย หลายคนอาจคิดว่าเป็นข้อสอบแจกคะแนน สำหรับผู้ที่เก่งภาษาไทย และก็อาจเป็นยาขมให้กับอีกหลาย ๆ คนเช่นเดียวกัน เพราะข้อสอบอุปมา อุปไมย ในข้อสอบ ก.พ. ภาค ก นี้ บางตัวเลือกก็ดูต่างกันอย่างสิ้นเชิง บางตัวเลือกก็ดูจะถูกไปเสียหมด หรือแม้แต่การขุดค้นคำศัพท์ทางภาษาไทย ที่คนส่วนใหญ่มักไม่ใช้กัน มาเป็นตัวเลือกอีกด้วย ( เช่น คำว่า "ขนัด" ที่เจอในข้อสอบรอบที่ผ่านมายังไงละครับ)

ตัวอย่างข้อสอบ อุปมา อุปไมย เช่น

พระ : ชี , ............. : ............

ก. พุทธรักษา : กุหลาบ

ข. ดอกบัว : ดอกรัก

ค. ดาวเรือง : มะลิ

ง. ดอกพุด : ทานตะวัน

จากตัวอย่างข้างต้น หากพิจารณาจากโจทย์อาจตีความได้ว่า ข้อสอบ อุปมา อุปไมย ข้อนี้ อาจถามความสัมพันธ์ของ เพศ (พระเพศชาย, ชีเพศหญิง) อาชีพ ที่อยู่อาศัย หน้าที่ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องของ "คน" ทั้งสิ้น แต่พอเจอตัวเลือกกลับเป็นดอกไม้ทั้งหมด (ตายละหว่า T^T) เจอแบบนี้ บางคนอาจถอดใจ เดาละกัน

ลองมองดูดี ๆ ข้อนี้คงไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับคนแล้วละครับ คราวนี้คงต้องมองความสัมพันธ์แบบอื่น ในที่นี้คือ "สี" หากพูดถึงพระ ต้องนึกถึงสีเหลือง หรือสีส้ม (สีจีวร) หากพูดถึงแม่ชี ต้องนึกถึงสีขาว (นุ่งขาว ห่มขาว)  เพราะฉะนั้นคำตอบข้อนี้จึงต้องตอบ "ค. ดาวเรือง : มะลิ" ครับ เนื่องจากมีสีที่ตรงกับโจทย์นั่นเอง

นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ แนวข้อสอบ ก.พ. อุปมา อุปไมย พอเฉลยหลายคนก็ต้องร้อง "อ่อ...ง่ายจัง" แต่บางข้อนี่ซิ คิดยังไงก็คิดไม่ออก เพราะฉะนั้นผมมีเคล็ดลับง่าย ๆ ในการทำข้อสอบอุปมา อุปไมย มาฝากกัน ดังนี้

1. ต้องมีความรู้รอบตัว  คือมีความรู้ในหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของคน (อาชีพ หน้าที่ เพศ) ประเทศต่าง ๆ (ที่ตั้ง ทวีป สภาพภูมิประเทศ) สัญลักษณ์ (สี สัตว์สัญลักษณ์) และลักษณะนามของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น

2. ต้องมองความสัมพันธ์ให้ออก คือการประยุกต์ความรู้ที่มีมาแก้โจทย์ให้ได้ โดยมองหาความสัมพันธ์ของโจทย์ ทั้งต่อตัวมันเองกับตัวเลือก และระหว่างตัวมันเองทั้งสอง เช่น กวาง : ควาย ความสัมพันธ์ที่เหมือนกันคือ กวางและความต่างก็เป็นสัตว์บก มีเขา เป็นสัตว์สี่ขา และเป็นสัตว์กินพืช ส่วนความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันคือ กวางอาศัยอยู่ในป่า แต่ควายอาศัยอยู่ในบ้าน เป็นต้น

3. ต้องสังเกตตำแหน่งคำให้ออก เหมือนกับตัวอย่าง พระ : ชี , ............. : ............ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ของสี แสดงให้เห็นว่า ด้านหน้าต้องเป็น "สีเหลือง" ด้านหลังต้องเป็น "สีขาว" อันนี้ต้องดูดี ๆ เพราะตัวเลือกมักหลอกโดยให้คำตอบที่ถูกต้องและชัดเจน แต่สลับตำแหน่งกัน ซึ่งผิดครับ

สอบ ก.พ. ภาค ก ข้อสอบอุปมา อุปไมย นี้ หากลองทำความเข้าใจดี ๆ หาความสัมพันธ์ให้เจอ และละเอียดในเรื่องของตำแหน่งคำ คิดว่าคงไม่ยากมากจนเกินไป และเป็นข้อสอบอีกส่วนหนึ่ง ที่สามารถเรียกคะแนนได้เป็นอย่างดีครับ

หากเพื่อน ๆ ท่านใด ที่สนใจจะติวสอบ ก.พ. ภาค ก สามารถติดต่อทีมของแบรี่ ติวเตอร์ได้ครับ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ประหยัด นัดติวแบบตัวต่อตัว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 085 934 1130 ได้ตลอดครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เคล็ดลับสอบ ก.พ. ภาค ก : การทำข้อสอบอนุกรม

การ สอบ ก.พ. ภาค ก ในปัจจุบัน ได้แบ่งออกเป็น การสอบการคิดวิเคราะห์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แม้ว่ารูปแบบข้อสอบจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่และเป็นข้อสอบที่หลายๆ คน มองว่าเป็นเรื่องที่ยาก นั่นคือ "อนุกรม" อนุกรม หมายถึง ชุดของตัวเลขที่เรียงลำดับกันอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็นเพิ่มขึ้น (การบวกและคูณ) และลดลง (การลบและหาร) ซึ่งความยากของการทำข้อสอบอนุกรมก็คือการค้นหาระบบที่ทางผู้ออกข้อสอบต้องการนั่นเอง โดยเคล็ดลับและวิธีการทำข้อสอบอนุกรมสามารถพิจารณาได้จากวิธีการดังต่อไปนี้ 1. อนุกรมลำดับชั้น วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขโดยการตีแฉก แล้วคำนวณดูว่าตัวเลขแต่ละลำดับนั้นห่างกันเท่าไหร่ และห่างกันอย่างไร ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 1     ภาพที่ 1 2. อนุกรมสะสม วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขในแต่ละชุด อาจกำหนดเป็นชุดละ 2 หรือ 3 ลำดับ แล้วพิจารณาดูว่าผลจากการคำนวณนั้นตรงกับลำดับถัดไปหรือไม่? หากใช่ ให้ลองทำกับลำดับต่อๆ ไป จนได้คำตอบในลำดับสุดท้าย ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 2 ภาพที่ 2   นอกจาก อนุกรม ทั้งสอง

วิธีสร้างรหัสแบบสอบถาม ก่อนเข้าสู่การใช้งาน SPSS

แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือการวิจัยที่ได้รับความนิยมจากนักวิจัย และนักเรียน นักศึกษา ในระดับต่างๆ เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครบถ้วนแล้ว กระบวนการถัดมาคือการ  คีย์ข้อมูล  ลงโปรแกรม SPSS แต่ด้วยจำนวนแบบสอบถามที่มีเป็นจำนวนมาก โดยแต่ละชุดก็มีข้อคำถามที่หลากหลาย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความผิดพลาด จึงควรมีการ  สร้างรหัสแบบสอบถาม เพื่อให้การ  ลงข้อมูล หรือ คีย์แบบสอบถาม เป็นไปอย่างถูกต้อง โดย BEARY Tutor มีข้อแนะนำดังนี้ 1. เขียนรหัสแบบสอบถามเพื่อเรียงลำดับชุด ในการทำวิจัยแต่ละครั้ง มักใช้  แบบสอบถาม  เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในแต่ละชุดยังประกอบไปด้วยจำนวนข้อคำถามมีหลายข้อ การเขียนรหัสแบบสอบถาม ลงบนหัวกระดาษ ซึ่งปกติจะเขียนบริเวณมุมบนขวา โดยใช้ตัวเลข 3 หลัก (ตามจำนวนชุดของแบบสอบถามทั้งหมด) เรียงตามลำดับการ ลงรหัสแบบสอบถาม ( คีย์ข้อมูลแบบสอบถาม ) เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างการคีย์ รวมไปถึงการแก้ไขข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่มีการคีย์ผิดพลาด 2. สร้างรหัสตัวแปร  การลงรหัสแบบสอบถาม จำเป็นต้องสร้างรหัสของข้อมูล ซึ่งก็คือตัวแปรต่างๆ เพื่อให

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ทฤษฎีคลาสสิคที่ใช้ในงานวิจัย

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) ภาพ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ในการจัดทำงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยทางการตลาด การทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านการตลาด หรือพฤติกรรมผู้บริโภค จะต้องมีการศึกษาทฤษฎีหนึ่งซึ่งเป็นทฤษฎีอมตะที่บ่งบอกถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย นั่นคือ " ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) "  Abraham H. Maslow (1954 อ้างถึงในวิบูลย์ จุง, 2550) อธิบายว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคลในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง โดยลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation) สามารถเรียงไว้อย่างเป็นลำดับ ได้ดังนี้ 1. ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs ) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดท