ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวข้อสอบท้องถิ่น ประจำปี 2560

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (กสถ.) ร่อนหนังสือถึงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ เตรียมพร้อมเปิดสอบบรรจุข้าราชการท้องงถิ่นรวมกว่า 20,000 อัตรา โดยมีหลักสูตรการสอบแข่งขันในแต่ละตำแหน่ง ได้แก่

1. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) (100 คะแนน)
1.1 วิชาความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์และสรุปเหตุผล (30 คะแนน)
- ความสามารถในการสรุปความ หรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว
- ความสามารถในการวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจหรือสังคม เช่น หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง โมเดลเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0 หรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เป็นต้น
- ความสามารถในการหาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมติฐาน 
- ความสามารถในการวิเคราะห์และสรุปเหตุผลอย่างอื่น เช่น สรุปเหตุผลเกี่ยวกับตัวเลข อนุกรม คณิตศาสตร์ทั่วไป การคิดสรุปหาเหตุผล และอุปมาอุปไมย เป็นต้น

1.2 วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (30 คะแนน)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546
- พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

1.3 วิชาภาษาไทย (20 คะแนน)
- ความเข้าใจในบทความ โดยการอ่านจับใจความ การสรุปความการตีความ การขยายความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความ
- การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องรัดกุม โดยให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆจากคำหรือกลุ่มคำ ประโยคหรือข้อความสั้นๆ การสะกดคำ การแต่งประโยค และคำศัพท์
- การเรียงประโยค

1.4 วิชาภาษาอังกฤษ (20 คะแนน)
- ความรู้ความเข้าใจภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน ทางการอ่าน การสรุปความ การตีความ และความเข้าใจสาระสำคัญของข้อความในระดับเบื้องต้น


2. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) (100 คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถในทางที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่โดยเฉพาะ ตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

3. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) (100 คะแนน)
เป็นการประเมินบุคคลโดยวิธีการสัมภาษณ์ สังเกต ตรวจสอบเอกสาร เพื่อพิจารณาความ เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จริยธรรมและคุณธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานรวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพ ความสามารถพิเศษที่เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ และ พฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ

ผู้ที่สอบแข่งขันได้ จะต้องสอบได้คะแนนในการสอบภาค ก ภาค ข และภาค ค แต่ละภาคไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 โดยมีเงื่อนไขว่าในการสอบภาค ก วิชาภาษาอังกฤษต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50


และแม้ขณะนี้ทาง กสถ. จะมีการเลื่อน ประกาศรับสมัครสอบท้องถิ่น ประจำปี 2560 ออกไป แต่ก็ถือเป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะได้มีเวลาในการเตรียมตัวให้พร้อม


ถ้าอยากเป็น 1 ใน 2 หมื่นคนที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นประจำปีนี้ // อยากจิ้มบรรจุเลยว่าจะทำงานที่ อบจ. อบต. เทศบาลที่ไหนก็ได้ // มาเตรียมพร้อม ติวสอบท้องถิ่น ประจำปี 2560 แบบตัวต่อตัว ! กับ Beary Tutor (แบรี่ ติวเตอร์) ที่ครอบคลุมทุกสาขาวิชาที่สอบ ในภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ในการ สอบท้องถิ่น ประจำปี 2560 ด้วยติวเตอร์มืออาชีพที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจชั้นนำทางด้านพลังงานของประเทศ เป็นผู้สอบผ่าน ก.พ. ภาค ก ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท พร้อมทั้งสอบผ่านการบรรจุหน่วยงานราชการมาแล้วหลายหน่วยงาน 

การ สอบท้องถิ่น ประจำปี 2560 จะไม่ยากอย่างที่คิด ให้พวกเรา Beary tutor (แบรี่ ติวเตอร์) เป็นผู้ช่วยสิครับ

อัตราค่าบริการติวสอบท้องถิ่น ปี 2560 แบบตัว-ต่อ-ตัว ที่เข้าใจกว่า ส่วนตัวกว่า พร้อมเอกสารการสอน 
- เริ่มต้นเพียง ชั่วโมงละ 400 บาท/คน
- ติวครบ 3 ชั่วโมงต่อครั้ง เหลือเพียง 1,000 บาท/คน 
พิเศษ! หากมีผู้เรียน มากกว่า 3 คน เหลือเพียง ชั่วโมงละ 300 บาท/คน เท่านั้น 

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือจองคิวเรียนได้ที่ 
โทร : 085 934 1130
Line id : bearytutor
E-mail : bearytutor@gmail.com
FB : www.facebook.com/bearytutor
Blog : http://bearytutor.blogspot.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เคล็ดลับสอบ ก.พ. ภาค ก : การทำข้อสอบอนุกรม

การ สอบ ก.พ. ภาค ก ในปัจจุบัน ได้แบ่งออกเป็น การสอบการคิดวิเคราะห์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แม้ว่ารูปแบบข้อสอบจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่และเป็นข้อสอบที่หลายๆ คน มองว่าเป็นเรื่องที่ยาก นั่นคือ "อนุกรม" อนุกรม หมายถึง ชุดของตัวเลขที่เรียงลำดับกันอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็นเพิ่มขึ้น (การบวกและคูณ) และลดลง (การลบและหาร) ซึ่งความยากของการทำข้อสอบอนุกรมก็คือการค้นหาระบบที่ทางผู้ออกข้อสอบต้องการนั่นเอง โดยเคล็ดลับและวิธีการทำข้อสอบอนุกรมสามารถพิจารณาได้จากวิธีการดังต่อไปนี้ 1. อนุกรมลำดับชั้น วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขโดยการตีแฉก แล้วคำนวณดูว่าตัวเลขแต่ละลำดับนั้นห่างกันเท่าไหร่ และห่างกันอย่างไร ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 1     ภาพที่ 1 2. อนุกรมสะสม วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขในแต่ละชุด อาจกำหนดเป็นชุดละ 2 หรือ 3 ลำดับ แล้วพิจารณาดูว่าผลจากการคำนวณนั้นตรงกับลำดับถัดไปหรือไม่? หากใช่ ให้ลองทำกับลำดับต่อๆ ไป จนได้คำตอบในลำดับสุดท้าย ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 2 ภาพที่ 2   นอกจาก อนุกรม ทั้งสอง

วิธีสร้างรหัสแบบสอบถาม ก่อนเข้าสู่การใช้งาน SPSS

แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือการวิจัยที่ได้รับความนิยมจากนักวิจัย และนักเรียน นักศึกษา ในระดับต่างๆ เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครบถ้วนแล้ว กระบวนการถัดมาคือการ  คีย์ข้อมูล  ลงโปรแกรม SPSS แต่ด้วยจำนวนแบบสอบถามที่มีเป็นจำนวนมาก โดยแต่ละชุดก็มีข้อคำถามที่หลากหลาย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความผิดพลาด จึงควรมีการ  สร้างรหัสแบบสอบถาม เพื่อให้การ  ลงข้อมูล หรือ คีย์แบบสอบถาม เป็นไปอย่างถูกต้อง โดย BEARY Tutor มีข้อแนะนำดังนี้ 1. เขียนรหัสแบบสอบถามเพื่อเรียงลำดับชุด ในการทำวิจัยแต่ละครั้ง มักใช้  แบบสอบถาม  เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในแต่ละชุดยังประกอบไปด้วยจำนวนข้อคำถามมีหลายข้อ การเขียนรหัสแบบสอบถาม ลงบนหัวกระดาษ ซึ่งปกติจะเขียนบริเวณมุมบนขวา โดยใช้ตัวเลข 3 หลัก (ตามจำนวนชุดของแบบสอบถามทั้งหมด) เรียงตามลำดับการ ลงรหัสแบบสอบถาม ( คีย์ข้อมูลแบบสอบถาม ) เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างการคีย์ รวมไปถึงการแก้ไขข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่มีการคีย์ผิดพลาด 2. สร้างรหัสตัวแปร  การลงรหัสแบบสอบถาม จำเป็นต้องสร้างรหัสของข้อมูล ซึ่งก็คือตัวแปรต่างๆ เพื่อให

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ทฤษฎีคลาสสิคที่ใช้ในงานวิจัย

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) ภาพ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ในการจัดทำงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยทางการตลาด การทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านการตลาด หรือพฤติกรรมผู้บริโภค จะต้องมีการศึกษาทฤษฎีหนึ่งซึ่งเป็นทฤษฎีอมตะที่บ่งบอกถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย นั่นคือ " ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) "  Abraham H. Maslow (1954 อ้างถึงในวิบูลย์ จุง, 2550) อธิบายว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคลในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง โดยลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation) สามารถเรียงไว้อย่างเป็นลำดับ ได้ดังนี้ 1. ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs ) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดท