ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สนง. เลขาธิการวุฒิสภา เปิดสอบบรรจุข้าราชการ 55 อัตรา



โอกาสดี ! ของผู้ที่ผลสอบ ก.พ. ภาค ก อยู่ในมือ แล้วกำลังมองหางานราชการดี ๆ สักที่ โอกาสนั้น มาถึงแล้ว เพราะ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา กำลัง เปิดสอบ บรรจุข้าราชการรัฐสภาสามัญ 14 ตำแหน่ง จำนวน 55 อัตรา รับสมัครผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ระหว่างวันที่ 1 - 22 กันยายน 2560 งานมั่นคง เงินเดือนดี มีเงินค่าตอบแทนพิเศษให้  วุฒิ ป.ตรี รับเงินเดือน 15,000 + 8,000 รวมเป็น 23,000 บาท ใครสนใจ ตรวจสอบรายละเอียดตำแหน่งและคุณวุฒิที่เปิดรับสมัครสอบ ดังนี้


ค้อน, หนังสือ, กฎหมาย, ศาล, ทนายความ, ปารากวัย

1. ตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ จำนวน 4 อัตรา
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ได้รับปริญญาตรีในสาขาวิชานิติศาสตร์

2. ตำแหน่งวิทยากรปฏิบัติการ จำนวน 2 อัตรา
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ได้รับปริญญาตรีในสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์หรือทางวิทยาศาสตร์

3. ตำแหน่งนักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ จำนวน 6 อัตรา 
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ได้รับปริญญาโทในสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ กฎหมายระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์ อักษรศาสตร์ และภาษาศาสตร์

4. ตำแหน่งนักวิชากรคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ จำนวน 3 อัตรา
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ได้รับปริญญาตรีในสาขาวิชาทางคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ

5. ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ จำนวน 1 อัตรา
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ได้รับปริญญาตรีในสาขาวิชาการบัญชี หรือพาณิชยศาสตร์ หรือบริหารธุรกิจ หรือเศรษฐศาสตร์ โดยต้องศึกษาวิชาบัญชีมาไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

6. ตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ จำนวน 1 อัตรา
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ได้รับปริญญาตรีในสาขาวิชาการบัญชี หรือพาณิชยศาสตร์ หรือบริหารธุรกิจ หรือเศรษฐศาสตร์

7. ตำแหน่งนักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ จำนวน 4 อัตรา
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ได้รับปริญญาตรีในสาขาวิชาทางนิเทศศาสตร์ หรือสื่อสารมวลชน และ เป็นผู้มีเสียงเหมาะสมสำหรับใช้ในการกระจายเสียง

โดยตำแหน่งที่ 1 - 7 ผู้สมัครสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป

แท็บเล็ต, สไตลัส, เลขานุการ, การอ่าน, ดินสอ, ปากกา

8. ตำแหน่งเจ้าพนักงานชวเลขปฏิบัติงาน จำนวน 7 อัตรา
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาวิชาพณิชยการ หรือเลขานุการ และ เขียนชวเลขภาษาไทยได้ในอัตราความเร็วนาทีละไม่น้อยกว่า 120 คำ พิมพ์ภาษาไทยได้ในอัตราความเร็วนาทีละไม่น้อยกว่า 35 คำ และพิมพ์ภาษาอังกฤษได้ในอัตราความเร็วนาทีละไม่น้อยกว่า 25 คำ

9. ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน จำนวน 2 อัตรา
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาวิชาบัญชี พณิชยการ หรือเลขานุการ หรือ ภาษาต่างประเทศ

10. ตำแหน่งเจ้พานักงานบันทึกข้อมูลปฏิบัติงาน จำนวน 19 อัตรา
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาวิชาบัญชี หรือพณิชยการ หรือเลขานุการ หรือภาษาต่างประเทศ หรือคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และ มีความสามารถใช้โปรแกรมประมวลผล โปรแกรมฐานข้อมูล หรือโปรแกรมอื่นๆ ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม และสามารถพิมพ์ดีดภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ไม่น้อยกว่านาทีละ 55 คำ

11. ตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน จำนวน 1 อัตรา
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาวิชาบัญชี หรือพณิชยการ หรือเลขานุการ หรือช่างโยธา หรือช่างก่อสร้าง หรือช่างเครื่องยนต์ หรือช่างกลโรงงาน ป

12. ตำแหน่งเจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ปฏิบัติงาน จำนวน 2 อัตรา
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ หรือเลขานุการ หรือพณิชยการ

13. ตำแหน่งนายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน จำนวน 2 อัตรา
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาวิชาทางศิลปกรรม หรือวิจิตรศิลป์ หรือศิลปประยุกต์ หรือออกแบบผลิตภัณฑ์

14. ตำแหน่งนายช่างปฏิบัติงาน จำนวน 1 อัตรา
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาวิชาทางช่างก่อสร้าง หรือช่างโยธา และ

โดยตำแหน่งที่ 8 - 14 ผู้สมัครสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขึ้นไป


Credit picture : senate

การรับสมัครสอบ
ผู้ที่มีคุณวุฒิตรงตามที่กำหนดและสนใจจะสมัครสอบแข่งขัน สามารถสมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 1 - 22 กันยายน 2560 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ ที่เว็บไซต์ https://senate.thaijobjob.com


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เคล็ดลับสอบ ก.พ. ภาค ก : การทำข้อสอบอนุกรม

การ สอบ ก.พ. ภาค ก ในปัจจุบัน ได้แบ่งออกเป็น การสอบการคิดวิเคราะห์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แม้ว่ารูปแบบข้อสอบจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่และเป็นข้อสอบที่หลายๆ คน มองว่าเป็นเรื่องที่ยาก นั่นคือ "อนุกรม" อนุกรม หมายถึง ชุดของตัวเลขที่เรียงลำดับกันอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็นเพิ่มขึ้น (การบวกและคูณ) และลดลง (การลบและหาร) ซึ่งความยากของการทำข้อสอบอนุกรมก็คือการค้นหาระบบที่ทางผู้ออกข้อสอบต้องการนั่นเอง โดยเคล็ดลับและวิธีการทำข้อสอบอนุกรมสามารถพิจารณาได้จากวิธีการดังต่อไปนี้ 1. อนุกรมลำดับชั้น วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขโดยการตีแฉก แล้วคำนวณดูว่าตัวเลขแต่ละลำดับนั้นห่างกันเท่าไหร่ และห่างกันอย่างไร ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 1     ภาพที่ 1 2. อนุกรมสะสม วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขในแต่ละชุด อาจกำหนดเป็นชุดละ 2 หรือ 3 ลำดับ แล้วพิจารณาดูว่าผลจากการคำนวณนั้นตรงกับลำดับถัดไปหรือไม่? หากใช่ ให้ลองทำกับลำดับต่อๆ ไป จนได้คำตอบในลำดับสุดท้าย ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 2 ภาพที่ 2   นอกจาก อนุกรม ทั้งสอง

วิธีสร้างรหัสแบบสอบถาม ก่อนเข้าสู่การใช้งาน SPSS

แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือการวิจัยที่ได้รับความนิยมจากนักวิจัย และนักเรียน นักศึกษา ในระดับต่างๆ เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครบถ้วนแล้ว กระบวนการถัดมาคือการ  คีย์ข้อมูล  ลงโปรแกรม SPSS แต่ด้วยจำนวนแบบสอบถามที่มีเป็นจำนวนมาก โดยแต่ละชุดก็มีข้อคำถามที่หลากหลาย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความผิดพลาด จึงควรมีการ  สร้างรหัสแบบสอบถาม เพื่อให้การ  ลงข้อมูล หรือ คีย์แบบสอบถาม เป็นไปอย่างถูกต้อง โดย BEARY Tutor มีข้อแนะนำดังนี้ 1. เขียนรหัสแบบสอบถามเพื่อเรียงลำดับชุด ในการทำวิจัยแต่ละครั้ง มักใช้  แบบสอบถาม  เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในแต่ละชุดยังประกอบไปด้วยจำนวนข้อคำถามมีหลายข้อ การเขียนรหัสแบบสอบถาม ลงบนหัวกระดาษ ซึ่งปกติจะเขียนบริเวณมุมบนขวา โดยใช้ตัวเลข 3 หลัก (ตามจำนวนชุดของแบบสอบถามทั้งหมด) เรียงตามลำดับการ ลงรหัสแบบสอบถาม ( คีย์ข้อมูลแบบสอบถาม ) เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างการคีย์ รวมไปถึงการแก้ไขข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่มีการคีย์ผิดพลาด 2. สร้างรหัสตัวแปร  การลงรหัสแบบสอบถาม จำเป็นต้องสร้างรหัสของข้อมูล ซึ่งก็คือตัวแปรต่างๆ เพื่อให

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ทฤษฎีคลาสสิคที่ใช้ในงานวิจัย

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) ภาพ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ในการจัดทำงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยทางการตลาด การทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านการตลาด หรือพฤติกรรมผู้บริโภค จะต้องมีการศึกษาทฤษฎีหนึ่งซึ่งเป็นทฤษฎีอมตะที่บ่งบอกถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย นั่นคือ " ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) "  Abraham H. Maslow (1954 อ้างถึงในวิบูลย์ จุง, 2550) อธิบายว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคลในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง โดยลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation) สามารถเรียงไว้อย่างเป็นลำดับ ได้ดังนี้ 1. ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs ) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดท