ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิธีคิดหัวข้อการวิจัย

การวิจัย (Research) หรือ วิทยานิพนธ์ (Thesis/Dissertation) (หรืออาจจะเป็นสารนิพนธ์ การศึกษาอิสระ (Independent Study : IS) หรืองานวิจัยใด ๆ ก็ตามแล้วแต่จะเรียกกัน กระบวนการศึกษาสิ่งเหล่านั้นว่ายากแล้ว แต่ในความเป็นจริง หลาย ๆ คนกลับพบเจอสิ่งที่ยากกว่านั่นคือ หัวข้อการวิจัย ประเด็นก็คือ อยากทำวิจัย (หรือ โดนบังคับให้ต้องทำวิจัย) แต่ไม่รู้จะทำเรื่องอะไร หรือคิด หัวข้อการวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ ไม่ออก วันนี้ Beary Research (แบรี่ รีเสิร์ช) หนึ่งในบริการที่ปรึกษางานวิจัยของ Beary Education (แบรี่ เอดูเคชัน) มี 5 วิธีง่าย ๆ ในการคิดหัวข้อการวิจัย มาฝากกันครับ



1. หัวข้อการวิจัย ต้องสอดคล้องกับงาน หรือสาขาที่เรียน ผู้ทำวิจัยต้องรู้ว่าตนเองรับผิดชอบงานด้านไหน หรือเรียนเอกอะไร เช่น ทำงาน หรือเรียน ด้านการตลาด มีการทำโปรโมชัน (Promotion) ใหม่ ๆ การศึกษาการตัดสินใจซื้อ (Purchase Decision)  การทำวิจัยจึงควรมุ่งเน้นไปที่การศึกษากลยุทธ์ทางการตลาด ส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจซื้อ ดังนั้น หัวข้อการวิจัย อาจเป็น ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผลต่อ การตัดสินใจซื้อ .....(ผลิตภัณฑ์ของผู้ศึกษา).....ของ.....(กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เช่น บุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร)..... เป็นต้น

2. หัวข้อการวิจัย ต้องสะท้อนถึงปัญหา หรือประเด็นที่จะศึกษา ก่อนที่ผู้วิจัยจะตั้งหัวข้อการวิจัยได้นั้น ผู้วิจัยจะต้องมีปัญหาที่ต้องการอยากรู้ มีการกำหนดเนื้อหาในการศึกษา หรือทฤษฎีที่จะศึกษามาก่อน เช่น ต้องการศึกษาว่าอะไรเป็นเหตุผลของการตัดสินใจทำงานที่นี้ ต้องการศึกษาว่าคนทำงานที่นี่มีความพึงพอใจหรือไม่ เมื่อได้ปัญหาแล้ว ก็จะนำไปสู่การสร้างหัวข้อการวิจัยได้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดใจเข้าทำงาน และ ความพึงพอใจในการทำงาน ที่.....(สถานที่ทำงานที่ต้องการศึกษา).....ของ.....(กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เช่น พนักงานระดับปฏิบัติการ)..... เป็นต้น


3. หัวข้อการวิจัย ต้องทันสมัย และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ปัญหาหนึ่งที่ผู้วิจัยยื่นหัวข้อการวิจัยไม่ผ่าน ก็คือหัวข้อที่วิจัย ไม่ทันสมัย หรือ ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ปัจจัยที่ีมีผลต่อการใช้งานเครื่องพิมพ์ดีดของนักศึกษาในระดับปริญญาโท (ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ดีดไม่ได้รับความนิยมแล้ว นักศึกษาแทบทุกคนใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานแทน) ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อน้ำปั่นในโรงอาหารโรงเรียนอนุบาลหมีน้อย (เป็นการวิจัยผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระดับที่มีนัยยะสำคัญ และสถานที่ก็เป็นพื้นที่เล็ก ๆ)  หรือเป็นหัวข้อที่ผิดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี เช่น ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการซื้อหวยใต้ดินของแม่บ้านตำรวจ (หวยใต้ดินปัจจุบันยังไม่ถูกกฎหมาย และกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับผู้รักษากฎหมาย) ตัวอย่างหัวข้อการวิจัยที่ทันสมัย และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ผลกระทบจากการเรียกเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากที่มีต่อธนาคารพาณิชย์ (กฎหมายใหม่เพิ่งประกาศเมื่อเดือน เม.ย. 62 และธนาคารพาณิชย์เป็นสถาบันการเงินที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศ) ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร (รถยนต์ไฟฟ้าเป็นยานยนต์รูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับควาามนิยมขึ้นเรื่อย ๆ) เป็นต้น     

4. หัวข้อการวิจัย ต้องกำหนดกลุ่มตัวอย่าง และพื้นที่ในการวิจัยที่ชัดเจน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรบางส่วนของผู้ที่เราต้องการศึกษา พื้นที่ในการวิจัย คือ ขอบเขตพื้นที่ที่เราต้องการศึกษา หัวข้อการวิจัยที่ดี จะต้องมีการระบุกลุ่มตัวอย่าง และพื้นที่ในการวิจัยที่ชัดเจน เพื่อให้การวิจัยสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออพูดง่าย ๆ คือ สามารถทำได้จริง และนำมาใช้งานได้จริง เช่น ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของ คนวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร (การศึกษาครั้งนี้ มุ่งเน้นศึกษาคนวัยทำงาน ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 22-60 ปี และศึกษาเฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น) เป็นต้น


5. หัวข้อการวิจัย ต้องเป็นหัวข้อที่ผู้วิจัยสามารถทำได้จริง มีหลาย ๆ ครั้งที่หัวข้อการวิจัยถูกกำหนดไว้อย่างสวยหรู แต่ผู้วิจัยหลายคนกลับมาตายตอนจบ คือไม่สามารถศึกษา หรือเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้จริง เช่น การศึกษาประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยของระบบ e-Banking ของธนาคารพาณิชย์ (อาจไม่มีธนาคารพาณิชย์ใดให้ข้อมูลเนื่องจากกังวลเรื่องความมั่นคงของระบบ) หรือ ปัจจัยที่มีต่อการโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐของผู้ก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คิดว่าหัวข้อนี้น่าจะหากลุ่มตัวอย่างในการศึกษายาก และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้วิจัยได้) เป็นต้น

ข้อมูลทั้ง 5 ข้อนี้ มีส่วนช่วยให้ผู้วิจัย สามารถคิดหัวข้อการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากใครยังคิดหัวข้อการวิจัยไม่ออก หรือต้องการที่ปรึกษา หรือผู้ช่วยในการวิจัย สามารถปรึกษา Beary Research (แบรี่ รีเสิร์ช) ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ (Facebook Fanpage) www.facebook.com/bearyresearch/ หรือ Add LINE มาสอบถามรายละเอียดการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ เพิ่มเติมที่ LINE id : bearytutor หรือ โทร. 085-934-1130 ครับ    

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เคล็ดลับสอบ ก.พ. ภาค ก : การทำข้อสอบอนุกรม

การ สอบ ก.พ. ภาค ก ในปัจจุบัน ได้แบ่งออกเป็น การสอบการคิดวิเคราะห์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แม้ว่ารูปแบบข้อสอบจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่และเป็นข้อสอบที่หลายๆ คน มองว่าเป็นเรื่องที่ยาก นั่นคือ "อนุกรม" อนุกรม หมายถึง ชุดของตัวเลขที่เรียงลำดับกันอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็นเพิ่มขึ้น (การบวกและคูณ) และลดลง (การลบและหาร) ซึ่งความยากของการทำข้อสอบอนุกรมก็คือการค้นหาระบบที่ทางผู้ออกข้อสอบต้องการนั่นเอง โดยเคล็ดลับและวิธีการทำข้อสอบอนุกรมสามารถพิจารณาได้จากวิธีการดังต่อไปนี้ 1. อนุกรมลำดับชั้น วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขโดยการตีแฉก แล้วคำนวณดูว่าตัวเลขแต่ละลำดับนั้นห่างกันเท่าไหร่ และห่างกันอย่างไร ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 1     ภาพที่ 1 2. อนุกรมสะสม วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขในแต่ละชุด อาจกำหนดเป็นชุดละ 2 หรือ 3 ลำดับ แล้วพิจารณาดูว่าผลจากการคำนวณนั้นตรงกับลำดับถัดไปหรือไม่? หากใช่ ให้ลองทำกับลำดับต่อๆ ไป จนได้คำตอบในลำดับสุดท้าย ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 2 ภาพที่ 2   นอกจาก อนุกรม ทั้งสอง

วิธีสร้างรหัสแบบสอบถาม ก่อนเข้าสู่การใช้งาน SPSS

แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือการวิจัยที่ได้รับความนิยมจากนักวิจัย และนักเรียน นักศึกษา ในระดับต่างๆ เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครบถ้วนแล้ว กระบวนการถัดมาคือการ  คีย์ข้อมูล  ลงโปรแกรม SPSS แต่ด้วยจำนวนแบบสอบถามที่มีเป็นจำนวนมาก โดยแต่ละชุดก็มีข้อคำถามที่หลากหลาย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความผิดพลาด จึงควรมีการ  สร้างรหัสแบบสอบถาม เพื่อให้การ  ลงข้อมูล หรือ คีย์แบบสอบถาม เป็นไปอย่างถูกต้อง โดย BEARY Tutor มีข้อแนะนำดังนี้ 1. เขียนรหัสแบบสอบถามเพื่อเรียงลำดับชุด ในการทำวิจัยแต่ละครั้ง มักใช้  แบบสอบถาม  เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในแต่ละชุดยังประกอบไปด้วยจำนวนข้อคำถามมีหลายข้อ การเขียนรหัสแบบสอบถาม ลงบนหัวกระดาษ ซึ่งปกติจะเขียนบริเวณมุมบนขวา โดยใช้ตัวเลข 3 หลัก (ตามจำนวนชุดของแบบสอบถามทั้งหมด) เรียงตามลำดับการ ลงรหัสแบบสอบถาม ( คีย์ข้อมูลแบบสอบถาม ) เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างการคีย์ รวมไปถึงการแก้ไขข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่มีการคีย์ผิดพลาด 2. สร้างรหัสตัวแปร  การลงรหัสแบบสอบถาม จำเป็นต้องสร้างรหัสของข้อมูล ซึ่งก็คือตัวแปรต่างๆ เพื่อให

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ทฤษฎีคลาสสิคที่ใช้ในงานวิจัย

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) ภาพ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ในการจัดทำงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยทางการตลาด การทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านการตลาด หรือพฤติกรรมผู้บริโภค จะต้องมีการศึกษาทฤษฎีหนึ่งซึ่งเป็นทฤษฎีอมตะที่บ่งบอกถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย นั่นคือ " ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) "  Abraham H. Maslow (1954 อ้างถึงในวิบูลย์ จุง, 2550) อธิบายว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคลในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง โดยลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation) สามารถเรียงไว้อย่างเป็นลำดับ ได้ดังนี้ 1. ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs ) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดท