ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ก.พ. เตรียมปรับวิธีสอบ ภาค ก ช่วยคนสอบไม่ผ่าน พร้อมแนะ ศธ. ปรับการศึกษาใหม่เน้นคิดวิเคราะห์มากขึ้น


สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เผยสถิติอันน่าวิตกของผู้สอบผ่านภาค ก เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในส่วนราชการต่าง ๆ ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะ 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะใน ปี พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา พบว่า มีผู้สมัครสอบในทุกระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับ ปวช. อนุปริญญาตรี ปริญญาตรี และปริญญาโทจำนวนกว่า 4 แสน แต่มีคนที่สอบผ่านเพียงร้อยละ 6 - 7% เท่านั้น


นายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เปิดเผยกับสื่อมวลชนเกี่ยวกับ การที่มีคนสอบผ่านภาค ก. ลดลง ว่า จากฐานข้อมูลคน 3 กลุ่มที่สอบ ก.พ. คือ กลุ่มแรก เป็นคนที่เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย และมีความประสงค์จะรับราชการ เรียกว่าเป็นกลุ่มหน้าใหม่จริงๆ ส่วนกลุ่มที่สอง คือ คนที่สอบไม่ผ่านมาก่อน และเข้ามาสอบซ้ำ และกลุ่มที่สาม คือ คนทำงานในบริษัทเอกชนเป็นจำนวนมาก แต่รู้สึกไม่มั่นคงในอาชีพการทำงาน จึงมาสอบภาค ก. เพื่อเตรียมตัวรับราชการ
      
โดยผลการสอบของทั้ง 3 กลุ่มนี้ สอบผ่านภาค ก ได้ประมาณร้อยละ 6 - 7 ของจำนวนผู้ที่สอบทั้งหมด ซึ่งถือว่าน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะหลังที่มีการสอบภาษาอังกฤษ (เริ่มในปี 2557) ค่าเฉลี่ยในการสอบผ่านก็จะยิ่งลดลง จากปกติที่อัตราการสอบผ่าน ก.พ. ก็น้อยอยู่แล้ว ซึ่งสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งมีข้อมูลของตัวเองโดยชัดเจน ทั้งอัตราการเข้าสอบและสอบผ่าน ที่สามารถเป็นตัวสะท้อนในแง่คุณภาพของแต่ละสถาบันในการผลิตบัณฑิตของตน


เลขาธิการ ก.พ. กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่มีคนสอบผ่านภาค ก ลดลงนั้น สำนักงาน ก.พ. มีแผนจะทำการสอบแบบใหม่ ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนปรับแก้ระเบียบ และเปลี่ยนวิธีการไปเป็น E Exam ซึ่งแต่เดิมใช้วิธีการจัดกลุ่มสอบแบบ Paper & Pencil โดยจะทำเพียงปีละครั้งเนื่องจากจำนวนมีมาก เช่น ในปีนี้ทำสอบครั้งเดียว แต่แบ่งเป็น 2 รอบ คือเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา และ ส.ค. ที่จะถึงนี้ ในอนาคตจะสร้างศูนย์สอบอิเล็กโทรนิกส์ คือสอบด้วยคอมพิวเตอร์ที่สำนักงาน ก.พ. ติวานนท์ อ.เมืองนนทบุรี จะมีที่นั่งสอบประมาณ 600-700 ที่นั่ง ซึ่งใน 1 วันสอบได้ 2 รอบ ประมาณหนึ่งพันกว่าคน และ E Exam นั้น สามารถสอบได้ทุกวัน โดยเปิดให้จองรอบสมัครสอบในอินเทอร์เน็ต และมีการเปิดรอบพิเศษ เช่น ในระดับปริญญาโท เป็นต้น ซึ่งจะมีข้อดี คือ ทำให้เกิดการหมุนเวียนกับคนที่เพิ่งจบการศึกษา โดยจะให้ Priority กับบัณฑิตจบใหม่ และจะเพิ่มโอกาสในการสอบมากขึ้น ส่วนคนที่สอบไม่ผ่านจะเว้นวรรคเป็นระยะเวลาหนึ่ง เป็นต้น

นอกจากนี้ เลขาธิการ ก.พ. ยังมีมุมมองว่า สถาบันการศึกษาและสถาบันที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ตั้งแต่กระทรวงศึกษาธิการ ไปจนถึงแต่ละมหาวิทยาลัยต้องปรับยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อผลิตคนมารับใช้สังคม มารองรับตลาดแรงงาน ต้องสร้างทักษะ ความสามารถ และทัศนคติให้เด็กเพื่อจะมาทำงานได้ โดยทบทวนเรื่องวิธีการสอน เช่น เน้นเรื่องการใช้ความจำมากเกินไป หรือ เน้นแต่ตัวเนื้อหา แต่ไม่ได้เน้นเรื่องวิธีการคิด วิเคราะห์ การตีโจทย์
      
โดยปัญหาหลักๆ ที่ทำให้มีผู้สอบผ่านในอัตราที่ลดลง คือ คุณภาพของสถาบันการศึกษา ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน และต้องพยายามไม่ให้ไปกระทบกับสถาบัน และการที่ ก.พ.ให้ข้อมูลรายละเอียดว่ามหาวิทยาลัยที่ไหนมีจำนวนผู้สอบผ่านภาค ก.ในสัดส่วนเท่าไหร่ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความยุติธรรมต่อกัน เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยเองก็มีข้อด้อยและข้อจำกัดต่างกัน เช่น การจัดสรรงบประมาณรายหัวก็ได้รับในอัตราที่น้อยกว่า
      
รวมถึงในด้านความเก่าแก่ของสถาบันที่เปิดสอนมานานนั้น ถือว่าเป็นจุดเด่นที่ทำให้มหาวิทยาลัยนั้นๆสามารถจะดึงดูดบุคลากรอาจารย์ที่มีองค์ความรู้และมีประสบการณ์ ซึ่งมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ไม่มีจุดเด่นเหล่านี้ก็สู้มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและมีความเก่าแก่ไม่ได้ เรื่องตัวนักศึกษาเองก็มีตัวเลือกมากขึ้น เรียกได้ว่า ปัญหาคุณภาพของสถาบันทางการศึกษา มีรายละเอียดซึ่งต้องทำความเข้าใจว่าความเสียเปรียบนั้นเป็นข้อจํากัดและเป็นอุปสรรคมาขวางกั้นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายต้องให้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000087669

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีสร้างรหัสแบบสอบถาม ก่อนเข้าสู่การใช้งาน SPSS

แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือการวิจัยที่ได้รับความนิยมจากนักวิจัย และนักเรียน นักศึกษา ในระดับต่างๆ เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครบถ้วนแล้ว กระบวนการถัดมาคือการ  คีย์ข้อมูล  ลงโปรแกรม SPSS แต่ด้วยจำนวนแบบสอบถามที่มีเป็นจำนวนมาก โดยแต่ละชุดก็มีข้อคำถามที่หลากหลาย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความผิดพลาด จึงควรมีการ  สร้างรหัสแบบสอบถาม เพื่อให้การ  ลงข้อมูล หรือ คีย์แบบสอบถาม เป็นไปอย่างถูกต้อง โดย BEARY Tutor มีข้อแนะนำดังนี้ 1. เขียนรหัสแบบสอบถามเพื่อเรียงลำดับชุด ในการทำวิจัยแต่ละครั้ง มักใช้  แบบสอบถาม  เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในแต่ละชุดยังประกอบไปด้วยจำนวนข้อคำถามมีหลายข้อ การเขียนรหัสแบบสอบถาม ลงบนหัวกระดาษ ซึ่งปกติจะเขียนบริเวณมุมบนขวา โดยใช้ตัวเลข 3 หลัก (ตามจำนวนชุดของแบบสอบถามทั้งหมด) เรียงตามลำดับการ ลงรหัสแบบสอบถาม ( คีย์ข้อมูลแบบสอบถาม ) เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างการคีย์ รวมไปถึงการแก้ไขข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่มีการคีย์ผิดพลาด 2. สร้างรหัสตัวแปร  การลงรหัสแบบสอบถาม จำเป็นต้องสร้างรหัสของข...

เคล็ดลับสอบ ก.พ. ภาค ก : การทำข้อสอบอนุกรม

การ สอบ ก.พ. ภาค ก ในปัจจุบัน ได้แบ่งออกเป็น การสอบการคิดวิเคราะห์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แม้ว่ารูปแบบข้อสอบจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่และเป็นข้อสอบที่หลายๆ คน มองว่าเป็นเรื่องที่ยาก นั่นคือ "อนุกรม" อนุกรม หมายถึง ชุดของตัวเลขที่เรียงลำดับกันอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็นเพิ่มขึ้น (การบวกและคูณ) และลดลง (การลบและหาร) ซึ่งความยากของการทำข้อสอบอนุกรมก็คือการค้นหาระบบที่ทางผู้ออกข้อสอบต้องการนั่นเอง โดยเคล็ดลับและวิธีการทำข้อสอบอนุกรมสามารถพิจารณาได้จากวิธีการดังต่อไปนี้ 1. อนุกรมลำดับชั้น วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขโดยการตีแฉก แล้วคำนวณดูว่าตัวเลขแต่ละลำดับนั้นห่างกันเท่าไหร่ และห่างกันอย่างไร ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 1     ภาพที่ 1 2. อนุกรมสะสม วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขในแต่ละชุด อาจกำหนดเป็นชุดละ 2 หรือ 3 ลำดับ แล้วพิจารณาดูว่าผลจากการคำนวณนั้นตรงกับลำดับถัดไปหรือไม่? หากใช่ ให้ลองทำกับลำดับต่อๆ ไป จนได้คำตอบในลำดับสุดท้าย ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 2 ภาพที่ 2   นอก...

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ทฤษฎีคลาสสิคที่ใช้ในงานวิจัย

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) ภาพ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ในการจัดทำงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยทางการตลาด การทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านการตลาด หรือพฤติกรรมผู้บริโภค จะต้องมีการศึกษาทฤษฎีหนึ่งซึ่งเป็นทฤษฎีอมตะที่บ่งบอกถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย นั่นคือ " ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) "  Abraham H. Maslow (1954 อ้างถึงในวิบูลย์ จุง, 2550) อธิบายว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคลในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง โดยลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation) สามารถเรียงไว้อย่างเป็นลำดับ ได้ดังนี้ 1. ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs ) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดท...