ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

10 เหตุผลโดนใจ ทำไมควรทำงานราชการ



Credit picture : สำนักงาน ก.พ. 

คุณเคยได้ยินสุภาษิตไทยที่ว่า "สิบพ่อค้าไม่เท่าหนึ่งพระยาเลี้ยง" ไหมครับ? สุภาษิตนี้หมายความว่า ต่อให้มีพ่อค้าหลายคนมาคอยอุปภัมภ์ค้ำชู ก็ยังเทียบไม่ได้กับมีคนที่รับราชการตำแหน่งใหญ่โตเพียงคนเดียวที่คอยเลี้ยงดู หลายคนอาจปฏิเสธว่าไม่จริง แต่รู้หรือไม่ครับว่าปัจจุบัน อาชีพข้าราชการยังคงเป็นอาชีพในฝันของคนไทยอีกหลายล้านคน สังเกตได้จากจำนวน ผู้สมัคร สอบ ก.พ. ภาค ก ที่เปิดรับสมัคร 500,000 คน ก็เต็มทุกที่นั่ง หรือแม้กระทั่ง ทหาร ตำรวจ หรือ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ต่าง ๆ เวลาเปิดรับสมัครเพื่อสอบบรรจุเป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ก็จะมีผู้สมัครเข้าสอบคัดเลือกเป็นจำนวนหลักหมื่นถึงหลักแสนคน ในขณะที่ตำแหน่งที่เปิดรับกลับมีจำนวนเพียงหลักร้อยเท่านั้น

หากคุณยังไม่รู้ว่าทำไมจึงมีผู้สนใจอยากทำงานราชการขนาดนี้ วันนี้ แบรี่ ติวเตอร์ (Beary Tutor) ขอนำเสนอ 10 เหตุผล โดนใจ ที่จะมาตอบทุกข้อสงสัยว่า ทำไมควรทำงานราชการ

1. มีค่าตอบแทนที่ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยสำคัญที่ใครสักคนจะเลือกทำงานสักแห่งหนึ่งก็คือค่าตอบแทน หลายคนอาจมองว่า เงินเดือน 15,000 บาท สำหรับผู้ที่เรียนจบคุณวุฒิปริญญาตรี อาจไม่ใช่ค่าตอบแทนที่ดูน่าสนใจนัก แต่ค่าตอบแทนดังกล่าวการันตีได้ว่าจะเพิ่มขึ้นตลอด ไม่มีคงที่ ไม่มีลดลง (เว้นแต่กระทำความผิด) นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานราชการอีกหลายแห่งที่มีเงินเดือนเริ่มต้นมากกว่า 15,000 บาท ตลอดจนมีเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าครองชีพ เงินค่าตอบแทนพิเศษ ฯลฯ ที่รวม ๆ แล้ว อาจไม่ได้น้อยกว่าการทำงานในหน่วยงานเอกชนชั้นนำเลย



2. มีสวัสดิการที่ดี ชีวิตเราขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจ็บไข้ได้ป่วย สิ่งที่หลาย ๆ คนคาดหวังจากการเข้ารับราชการก็คือการมีสวัสดิการรักษาพยาบาลที่ดี มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งตนเอง คู่สมรส ลูก และพ่อแม่ ซึ่งข้าราชการยังคงได้รับสิทธินั้น แม้จะเกษียณอายุไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการบ้านพัก รถประจำตำแหน่ง หรือแม้กระทั่งเงินให้กู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ ให้ข้าราชการได้มีบ้าน มีรถ มีทุนให้กู้ยืมสำหรับทำธุรกิจเล็ก ๆ ในครอบครัว มีชีวิตความเป็นอยู่ที่แม้จะไม่ร่ำรวยแต่ก็ไม่ลำบาก

3. มีบำเหน็จ บำนาญ หน่วยงานราชการแทบทุกแห่งจะมีการบำเหน็จ บำนาญให้แก่ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ใช้จ่ายในยามเกษียณ หากได้รับเป็นบำนาญก็จะมีเงินเดือนไว้ใช้จ่ายตลอดชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้น้อยเลย หรือหากได้รับเป็นบำเหน็จ หากนำมาบริหารดี ๆ ก็สามารถให้เงินต่อเงินไว้ใช้จ่ายได้อย่างไม่ลำบากหรืออาจเป็นเศรษฐีหลังวัยเกษียณก็ได้ ถือเป็นอีกหนึ่งหลักประกันที่สำคัญให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุข



4. มีชั่วโมงการทำงานที่พอดี มีวันหยุดเยอะ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมักมีวัฒนธรรมและรูปแบบการทำงานที่เข้าออกตรงเวลา ส่วนใหญ่จะเข้างาน 08.00 - 16.00 น. เนื่องจากหากเข้าก่อนหรือเลิกทีหลัง อาจถูกมองว่าทำงานไม่มีประสิทธิภาพและใช้ทรัพยากรของรัฐอย่างสิ้นเปลือง (เว้นแต่จะมีภาระงานผูกพัน หรืองานเร่งด่วนให้ต้องเข้างานก่อนและเลิกงานทีหลัง) และมีวันทำงานแค่ 5 วัน คือจันทร์-ศุกร์ หยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ยังไม่รวมสิทธิลาป่วย ลากิจ และลาพักผ่อน งานราชการจึงเป็นงานที่สร้างความสมดุลให้แก่ชีวิตที่ไม่ต้องทำงานหนักจนร่างกายเสื่อมโทรม

5. มีความมั่นคง หน่วยงานราชการไม่แปรผันตามสภาพเศรษฐกิจ ไม่มีไล่ออก (หากไม่กระทำผิดวินัยร้ายแรง) เงินเดือนและตำแหน่งเติบโตขึ้นทุกปี มีระบบอาวุโส และมีระบบการดูแลที่ดี ไม่ต้องร้อน ๆ หนาว ๆ ตอนที่ได้รับเงินเดือนเยอะ ๆ แล้วจะมีคนรุ่นใหม่มาเลื่อยขาเก้าอี้ ไม่ต้องกังวลแม้สมรรถนะการทำงานจะลดลงด้วยปัญหาสุขภาพ ก็ยังมีตำแหน่งงานรองรับในขณะที่ค่าตอบแทนก็ไม่ได้ลดลง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้าราชการ

Credit picture : MThai

6. มีหน้ามีตาในสังคม การเข้าทำงานราชการได้ ถือเป็นเครื่องการันตีความรู้ความสามารถของข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐคนนั้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นผู้ที่สอบได้จากการสอบแข่งขันกับผู้เข้าสอบคนอื่น ๆ อีกหลายร้อยหลายพันคน มีเครดิตที่ดี จะกู้ยืมเงินหรือค้ำประกันให้ใครก็เป็นไปอย่างง่ายดาย นอกจากนี้วัฒนธรรมไทยยังมองว่าการทำงานราชการเป็นอาชีพที่มีเกียรติ เพราะเป็นอาชีพที่ต้องรับใช้แผ่นดิน ตลอดจนเป็นการใช้อำนาจของรัฐ ถึงขนาดมีสุภาษิตที่ว่า "สิบพ่อค้าไม่เท่าหนึ่งพระยาเลี้ยง"

7. ได้รับการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ การเข้ารับราชการไม่เพียงแต่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบประจำวันของตนเองเท่านั้น หากแต่ยังต้องเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ โดยหน่วยงานจะมีการส่งไปอบรมตามสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และตำแหน่งการบังคับบัญชา ตลอดจนให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับ มาปฏิบัติงานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยุทธศาสตร์ชาติ
Credit picture : กรุงเทพธุรกิจ

8. มีการทำงานที่เป็นระบบ การทำงานราชการจะมีรูปแบบการปฏิบัติงานในแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน ผู้ปฏิบัติงานตลอดจนผู้มาขอรับบริการ จึงมีแนวปฏิบัติในการทำงานให้เป็นไปอย่างสะดวก เป็นระเบียบ และมีประสิทธิภาพ เช่น รูปแบบของหนังสือราชการ ขั้นตอนการขอรับบริการ หรือลำดับการบังคับบัญชา เป็นต้น จึงทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีระบบ ง่ายต่อการปฏิบัติ

9. มีความก้าวหน้าในอาชีพที่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติงานราชการจะมีความก้าวหน้าในสายอาชีพ (career path) ที่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น เริ่มต้นที่ระดับปฏิบัติการ หากปฏิบัติงานครบ 3 ปี จะได้รับการปรับเป็นระดับชำนาญการ หากปฏิบัติงานครบ 4 ปี มีผลงาน จะได้รับการปรับเป็นชำนาญการพิเศษ เป็นต้น (ตัวอย่างอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละหน่วยงานนะครับ) ซึ่งทั้งหมดเป็นตำแหน่งที่ทุก ๆ คนมีโอกาสไปถึง อย่างไรก็ตามจะมีหนึ่งในนั้นที่มีความรู้ความสามารถอย่างโดดเด่น อาจได้ไปต่อถึงตำแหน่งบริหารระดับสูง เช่น ผู้อำนวยการสำนัก อธิบดีกรม หรือปลัดกระทรวง เป็นต้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้าราชการ

Credit picture : กรุงเทพธุรกิจ

10. มีวัฒนธรรมการทำงานที่อบอุ่น ผมเชื่อว่าการทำงานในทุก ๆ ที่ ที่ต้องอยู่ร่วมกับคนเยอะ ๆ จะต้องมีปัญหาบ้างไม่มากก็น้อย แต่การทำงานราชการ เราจะมีระบบอาวุโส ที่หล่อหลอมให้น้องใหม่ต้องเคารพรุ่นพี่ หรือผู้น้อยต้องเคารพผู้บังคับบัญชา ซึ่งหากได้ผู้ใหญ่หรือผู้บังคับบัญชาที่ดี เวลาผู้น้อยมีปัญหา จะสามารถปกครองได้ง่ายกว่า มีความช่วยเหลือกันมากกว่า เพราะไม่มีเรื่องผลประโยชน์ เช่น ยอดขาย เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น การทำงานราชการจึงมีความเป็นครอบครัว มีความอบอุ่น มีความเคารพซึ่งกันและกันมากกว่า

ทั้งหมดนี้ถือเป็น 10 เหตุผลดี ๆ ที่ผมคิดว่าเป็นข้อดีของการทำงานราชการ หลายคนที่ยังคงเดินตามฝันสอบบรรจุราชการอย่างเพิ่งท้อแท้ครับ หากเรามีการเตรียมความพร้อมเต็มที่ วันนึงต้องเป็นของเราอย่างแน่นอน หากใครยังไม่เชื่อว่าทำงานราชการจะดีอย่างที่บทความนี้ได้บอกเอาไว้ไหม ลองสอบบรรจุเข้ามาดู แล้วทำงานราชการสักพัก ก็ไม่เสียหายอะไรนะครับ เพราะผมเชื่อว่าแค่คุณสอบติด มีชื่อประกาศเป็นผู้สอบผ่านการคัดเลือกไม่ว่าจะหน่วยงานใดก็ตาม คุณก็จะเกิดความภาคภูมิใจไม่น้อยแล้ว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เคล็ดลับสอบ ก.พ. ภาค ก : การทำข้อสอบอนุกรม

การ สอบ ก.พ. ภาค ก ในปัจจุบัน ได้แบ่งออกเป็น การสอบการคิดวิเคราะห์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แม้ว่ารูปแบบข้อสอบจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่และเป็นข้อสอบที่หลายๆ คน มองว่าเป็นเรื่องที่ยาก นั่นคือ "อนุกรม" อนุกรม หมายถึง ชุดของตัวเลขที่เรียงลำดับกันอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็นเพิ่มขึ้น (การบวกและคูณ) และลดลง (การลบและหาร) ซึ่งความยากของการทำข้อสอบอนุกรมก็คือการค้นหาระบบที่ทางผู้ออกข้อสอบต้องการนั่นเอง โดยเคล็ดลับและวิธีการทำข้อสอบอนุกรมสามารถพิจารณาได้จากวิธีการดังต่อไปนี้ 1. อนุกรมลำดับชั้น วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขโดยการตีแฉก แล้วคำนวณดูว่าตัวเลขแต่ละลำดับนั้นห่างกันเท่าไหร่ และห่างกันอย่างไร ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 1     ภาพที่ 1 2. อนุกรมสะสม วิธีการทำข้อสอบคือการลองหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขในแต่ละชุด อาจกำหนดเป็นชุดละ 2 หรือ 3 ลำดับ แล้วพิจารณาดูว่าผลจากการคำนวณนั้นตรงกับลำดับถัดไปหรือไม่? หากใช่ ให้ลองทำกับลำดับต่อๆ ไป จนได้คำตอบในลำดับสุดท้าย ดังแสดงให้เห็นได้ในภาพที่ 2 ภาพที่ 2   นอกจาก อนุกรม ทั้งสอง

วิธีสร้างรหัสแบบสอบถาม ก่อนเข้าสู่การใช้งาน SPSS

แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือการวิจัยที่ได้รับความนิยมจากนักวิจัย และนักเรียน นักศึกษา ในระดับต่างๆ เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครบถ้วนแล้ว กระบวนการถัดมาคือการ  คีย์ข้อมูล  ลงโปรแกรม SPSS แต่ด้วยจำนวนแบบสอบถามที่มีเป็นจำนวนมาก โดยแต่ละชุดก็มีข้อคำถามที่หลากหลาย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความผิดพลาด จึงควรมีการ  สร้างรหัสแบบสอบถาม เพื่อให้การ  ลงข้อมูล หรือ คีย์แบบสอบถาม เป็นไปอย่างถูกต้อง โดย BEARY Tutor มีข้อแนะนำดังนี้ 1. เขียนรหัสแบบสอบถามเพื่อเรียงลำดับชุด ในการทำวิจัยแต่ละครั้ง มักใช้  แบบสอบถาม  เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในแต่ละชุดยังประกอบไปด้วยจำนวนข้อคำถามมีหลายข้อ การเขียนรหัสแบบสอบถาม ลงบนหัวกระดาษ ซึ่งปกติจะเขียนบริเวณมุมบนขวา โดยใช้ตัวเลข 3 หลัก (ตามจำนวนชุดของแบบสอบถามทั้งหมด) เรียงตามลำดับการ ลงรหัสแบบสอบถาม ( คีย์ข้อมูลแบบสอบถาม ) เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างการคีย์ รวมไปถึงการแก้ไขข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่มีการคีย์ผิดพลาด 2. สร้างรหัสตัวแปร  การลงรหัสแบบสอบถาม จำเป็นต้องสร้างรหัสของข้อมูล ซึ่งก็คือตัวแปรต่างๆ เพื่อให

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ทฤษฎีคลาสสิคที่ใช้ในงานวิจัย

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) ภาพ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ในการจัดทำงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยทางการตลาด การทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านการตลาด หรือพฤติกรรมผู้บริโภค จะต้องมีการศึกษาทฤษฎีหนึ่งซึ่งเป็นทฤษฎีอมตะที่บ่งบอกถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย นั่นคือ " ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow's hierarchy of needs) "  Abraham H. Maslow (1954 อ้างถึงในวิบูลย์ จุง, 2550) อธิบายว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคลในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง โดยลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation) สามารถเรียงไว้อย่างเป็นลำดับ ได้ดังนี้ 1. ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs ) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดท